เขียนโดย จุมพล โทจันทร์ (30-12-2021)
ภายในพื้นที่โรงงานซึ่งมีกระบวนการผลิต บรรจุ จัดเก็บ หรือใช้สารเคมีที่สามารถจุดติดไฟหรือเกิดการระเบิดได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเหลวระเหยกลายเป็นไอ ก๊าซ ฝุ่นที่ลุกไหม้ไฟได้ เส้นใยหรือสิ่งปลิวลอยในอากาศ เป็นต้น สารไวไฟเหล่านั้นมีโอกาสที่จะรั่วไหล หรือถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศจากกระบวนการหรือจากการทำงานบกพร่องของอุปกรณ์ในกระบวนการก็ตาม สถานที่เหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์และจำแนกพื้นที่อันตรายออกเป็นโซน (Zone) ตามมาตรฐานนานาชาติ IEC 60079-10, มาตรฐานที่ใช้ในยุโรป EN 60079-10 หรืออาจจะจำแนกเป็นประเภทและระดับอันตราย (Class and Division) ตามมาตรฐาน NFPA 70 (NEC), API RP 500 และ CEC/ CSA ที่ใช้งานในอเมริกาและแคนาดา หรือมาตรฐานอื่น National standards ที่ใช้อ้างอิงในการทำงานของสถานที่นั้น
การจำแนกบริเวณอันตรายมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสามารถออกแบบเลือกใช้และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ตรวจวัด อุปกรณ์ควบคุม และเครื่องจักร (ที่ผ่านการรับรองสำหรับใช้งานในบริเวณอันตรายต่างๆ) ได้อย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย โดยจำแนกพื้นที่ตามประเภท ลักษณะการเกิดสารไวไฟ โอกาสและระยะเวลาที่จะเกิดการสะสมของสารไวไฟในบริเวณนั้นๆ
การจำแนกบริเวณอันตรายควรที่จะดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจในคุณสมบัติของสารไวไฟ การแพร่กระจายของสารไวไฟที่นำมาใช้งาน เข้าใจในขั้นตอน กระบวนการและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการ เช่น ในการผลิต การขนถ่าย จัดเก็บสารไวไฟ และสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้น อีกทั้งจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจมาตรฐานหรือแนวทาง (Standards and guidance) วิธีการ ที่นำมาใช้อ้างอิงในการจำแนกบริเวณอันตราย ซึ่งความรู้ทางวิศวกรรมในด้านต่างๆ หรือวิศวกรที่รับผิดชอบในโรงงาน เช่น process, mechanical, electrical, และ safety engineers อาจจะเข้าร่วมและนำข้อมูลที่จำเป็นมาประกอบในการดำเนินการ ทั้งนี้ การจำแนกบริเวณอันตรายควรที่จะดำเนินการโดยผู้ที่มีประสบการณ์ และผ่านการรับรองความรู้ ความสามารถ เช่น IECEx CoPC unit Ex 002 เป็นต้น
การจำแนกบริเวณอันตรายจะคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ชนิด ประเภทและรูปแบบของสารไวไฟในบริเวณนั้น เช่น ของเหลว ก๊าซหรือไอ ฝุ่น เส้นใยที่ปลิวในอากาศ เป็นต้น
- คุณสมบัติของสารไวไฟที่ใช้งาน เช่น Vapour density, Ignition temperature (vapor, dust cloud, dust layer), dust particle size, dust electrical resistivity เป็นต้น
- การแบ่งกลุ่มของสารไวไฟ (Gas group, Dust group)
- ลักษณะและตำแหน่งหรือจุดที่เกิดสารไวไฟ (Sources of release)
- ประเมินอัตราและระดับการเกิดสารไวไฟในตำแหน่งต่างๆ (Release rate and grade of release for each source)
- ประเมินการระบายอากาศและปัจจัยที่จะลดการสะสมของสารไวไฟ (Ventilation and dilution conditions)
- ปัจจัยในกระบวนการ (Process parameters, operation and maintenance parameters)
- ประเมินโดยกำหนดโซน (Zone type) และระยะห่างจากตำแหน่งที่เกิดสารไวไฟ (Extent of zone)
การจำแนกบริเวณอันตรายมีแนวทางหรือวิธีการให้พิจารณานำไปประยุกต์ใช้ เช่น
- Calculation by sources of release method จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพื่อการคำนวณปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบุ Sources of release, คำนวณหา Release rate และ Grade of release ของตำแหน่งต่างๆ ที่เกิดสารไวไฟ, ประเมิน Ventilation หรือ Dilution จากนั้นกำหนดโซนโดยอ้างอิง Grade of release และระยะห่างจากจุดที่มีสารไวไฟ Extent of the hazardous zone
- Use of industry codes and national standards โดยอ้างอิงแนวทางและตัวอย่างการจำแนกบริเวณอันตรายตามมาตรฐานทางอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานที่ใช้ในประเทศสำหรับการจำแนกบริเวณอันตราย โดยเลือกตัวอย่างมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ซึ่งกำลังพิจารณา
- Simplified methods ในกรณีที่ไม่สามารถประเมิน Sources of release ในรายละเอียดได้ อาจจะใช้ “วิธีอย่างง่าย” ในการกำหนดโซนในเชิงอนุรักษ์ (Conservative classification) สำหรับกำหนดบริเวณพื้นที่กว้างขึ้น โดยประเมินโอกาสที่จะเกิดตำแหน่งซึ่งมีสารไวไฟ กำหนดโซนต่างๆ โดยไม่ได้ประเมิน Sources of release อย่างละเอียดแต่ละจุด กำหนดโซนต่างๆ ตามนิยาม และทำการประเมินโดยอ้างอิงแนวทางที่เคยปฏิบัติทางอุตสาหกรรม (Indstrial experience) ซึ่งมีความใกล้เคียงและเหมาะสมกับพื้นที่ที่พิจารณา โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
- Combination of methods โดยการผสมผสานหลายวิธีที่เหมาะสมสำหรับในแต่ละพื้นที่โรงงาน หรือในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบโรงงาน เช่น ในระหว่าง Initial conceptual stage อาจจะใช้วิธี Simplified method เมื่อยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับตำแหน่งที่จะเกิดสารไวไฟ จากนั้นทำการทบทวนและปรับปรุงการจำแนกบริเวณอันตรายในภายหลัง เมื่อมีข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นจากที่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว หรืออาจจะอ้างอิง National or industrial codes ในกรณีพื้นที่โรงงานคล้ายคลึงกับการจำแนกบริเวณอันตรายตามแนวทางหรือมาตรฐานที่อ้างอิงดังกล่าว
การจำแนกบริเวณอันตรายโดยอ้างอิงมาตรฐานนานาชาติ (International Standard)
ในการจำแนกบริเวณอันตรายจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซน (Zones) โดยอ้างอิงมาตรฐาน IEC 60079-10-1 (Explosive gas atmospheres) ในกรณีมีสารไวไฟประเภทก๊าซหรือไอ โดยพิจารณาข้อมูลคุณสมบัติของสารไวไฟประเภทก๊าซและไอได้จาก ISO/IEC 80079-20-1 (Material characteristics for gas and vapor classification – Test methods and data) รวมทั้งอาจจะใช้ SDS/ MSDS ของสารนั้นๆ ประกอบการพิจารณา
บริเวณอันตรายสำหรับพื้นที่ซึ่งมีสารที่ติดไฟได้ประเภทก๊าซหรือไอ สามารถจำแนกออกเป็น 3 โซนตามคำนิยาม ดังนี้
โซน (Zone) |
นิยาม (Definition) |
Sample areas |
Zone 0 |
An area in which an explosive gas atmosphere is present continuously or for long periods or frequently |
Surface of flammable liquid in a fixed roof tank. Surface of flammable liquid which is open to the atmosphere for long periods. |
Zone 1 |
An area in which an explosive gas atmosphere is likely to occur periodically or occasionally in normal operation. |
Seals of pumps, compressors or valves, flanges or connection of pipe fittings, relief valve or vent opening which are expected to release vapor during normal operation. |
Zone 2 |
An area in which an explosive gas atmosphere is not likely to occur in normal operation but, if it does occur, it will exist for a short period only. |
Area around the close container of flammable liquid. Seals of pumps, compressors, and valves where the release of vapor during normal operation of equipment is not expected. |
ซึ่งจุดที่เกิดสารไวไฟ (Sources of release), รูปแบบการเกิดสารไวไฟ (Forms of release), ระดับการเกิดสารไวไฟ (Grade of the source of release), การระบายอากาศ (Ventilation availability and effectiveness) มีผลต่อการกำหนดรูปแบบโซน (Type of zone) ต่างๆ รวมถึงระยะห่างของโซนจากจุดที่เกิดสารไวไฟ (Extent of zone) ซึ่งผู้ออกแบบจะพิจารณา วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ในการกำหนดระยะ Zone extension ในการทำแบบ Areas Classification Drawing
สำหรับก๊าซและไอในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เหมืองแร่ (Non-mining) สามารถแบ่งกลุ่ม (Group) ได้ 3 กลุ่ม โดยพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ MESG และ MIC ratio ดังนี้
Gas Group |
MESG limits |
MIC ratios |
Sample of Gas in a Group |
IIC |
MESG ≤ 0.50 mm |
MIC < 0.45 |
Acetylene, Hydrogen, Carbon Disulfide |
IIB |
0.50 mm < MESG < 0.90 mm |
0.45 ≤ MIC ≤ 0.80 |
Ethylene, Ethanol, Diethyl ether |
IIA |
MESG ≥ 0.90 mm |
MIC > 0.80 |
Propane, Gasoline, Butane, Acetone |
Note: MESG – Maximum Experimental Safe Gap of a joint of 25mm in width to prevent any transmission of an explosion during tests.
MIC ratio – The ratio of Minimum Ignition Current that causes ignition of an explosive test mixture to the ignition current of laboratory methane.
ก๊าซหรือไอในกลุ่ม IIC จะมีระดับอันตรายที่สูงกว่า (ใช้พลังงานในการจุดติดไฟต่ำกว่า และมีแรงดันจากการระเบิดสูงกว่า) สารไวไฟในกลุ่ม IIB และ IIA ตามลำดับ
การจำแนกพิกัดอุณหภูมิ (Temperature class) ของสารไวไฟประเภทก๊าซหรือไอ อ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60079-14 ดังนี้
พิกัดอุณหภูมิ (Temperature Class) |
Range of Auto-ignition Temperature (AIT) of Gas |
T1 |
AIT > 450 |
T2 |
300 < AIT ≤ 450 |
T3 |
200 < AIT ≤ 300 |
T4 |
135 < AIT ≤ 200 |
T5 |
100 < AIT ≤ 135 |
T6 |
85 < AIT ≤ 100 |
Note: AIT – Lowest temperature (of a surface) at which under specified test conditions an ignition of flammable gas or vapor in mixture with air or air-inert gas occurs.
สารไวไฟที่มีค่า AIT อยู่ใน Temperature class – T6 จะสามารถจุดติดไฟได้ง่าย ที่อุณหภูมิต่ำกว่าสารไวไฟที่มี Temperature class – T5, T4, T3, T2, และ T1 ตามลำดับ
ตัวอย่างแบบ Drawing การจำแนกบริเวณอันตรายอ้างอิงมาตรฐาน IEC 60079-10-1
สำหรับกรณีพื้นที่มีฝุ่นและเส้นใยที่ลุกไหม้ไฟได้ การจำแนกบริเวณอันตรายจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซน (Zones) โดยอ้างอิงมาตรฐาน IEC 60079-10-2 (Explosive dust atmospheres) ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาหลายปัจจัยและใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น พิจารณาข้อมูลคุณสมบัติของฝุ่น (Material characteristics) จากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ Process specialist หรือข้อมูลจากรายงานการทดสอบ (ควรยืนยันความเหมาะสมในการนำข้อมูลไปใช้แต่ละพื้นที่), รวมทั้งพิจารณารายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษา รวมทั้งแผนการทำความสะอาดพื้นที่ทำงานแต่ละส่วน เป็นต้น มาตรฐาน ISO/IEC 80079-20-2 กำหนดแนวทางการทดสอบในห้องปฏิบัติการ (Laboratory test) เพื่อยืนยันคุณสมบัติของฝุ่นที่สามารถลุกไหม้ไฟได้ (Combustible dust)
บริเวณอันตรายสำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝุ่นที่ลุกไหม้ได้สามารถจำแนกออกเป็น 3 โซน ตามคำนิยาม ดังนี้
โซน (Zone) |
นิยาม (Definition) |
ตัวอย่างพื้นที่ (Sample area) |
Zone 20 |
A place in which an explosive dust atmosphere, in the form of a cloud of dust in air, is present continuously, or for long periods or frequently |
Inside ducts, producing and handling equipment where explosive dust atmospheres are present continuously or long period. Inside of a mixing vessel or a storage silo that is filled. |
Zone 21 |
a place in which an explosive dust atmosphere, in the form of a cloud of dust in air, is likely to occur in normal operation occasionally |
An area where there is a starting and stopping of filling equipment for explosive dust. The close vicinity around an open bag filling or emptying point. |
Zone 22 |
area in which an explosive dust atmosphere, in the form of a cloud of combustible dust in air, is not likely to occur in normal operation but, if it does occur, will persist for a short period only. |
A dust handling plant where deposits of dust are present. Locations near equipment opened at infrequent intervals. Storage of bags containing dusty products. |
สำหรับฝุ่นและเส้นใยในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เหมืองแร่ (Non-mining) สามารถแบ่งกลุ่ม (Group) ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
Dust Group |
Types of Dust |
Criteria |
Sample of Dust & Fiber |
IIIC |
Conductive dust |
Electrical resistivity ≤ 103 Ωm |
Aluminum dust, Magnesium dust |
IIIB |
Non-conductive dust |
Electrical resistivity > 103 Ωm |
Coke, Flour, Grain, Wood, Plastic |
IIIA |
Combustible flying |
Solid particle, including fibers > 500 µm |
Rayon, Cotton, Jute, Hemp, Cocoa fiber |
นอกจากนี้ ผู้ออกแบบจะพิจารณาคุณสมบัติของฝุ่นที่ใช้งานในกระบวนการ เช่น อุณหภูมิในการจุดติดไฟของฝุ่น dust clouds/ dust layers, ระดับพลังงานในการจุดติดไฟ (Minimum ignition energy of a dust cloud), ค่าความต้านทางไฟฟ้า (Electrical resistivity), Explosive limits, ความชื้นที่สะสมอยู่ในฝุ่น และขนาด Particle size เป็นต้น
ตัวอย่างแบบ Drawing การจำแนกบริเวณอันตรายอ้างอิง IEC 60079-10-2
ตัวอย่าง การจำแนกบริเวณอันตรายสำหรับ Cyclone and filter with clean outlet outside the building
นอกจากนั้น ตามมาตรฐาน IEC กำหนดให้ระบุ Equipment Protection Level (EPL) ลงในแบบ Drawing การจำแนกบริเวณอันตราย ตามระดับการประเมินความเสี่ยง (Risk assessment) ของอุปกรณ์ในการเกิดเป็นแหล่งที่จุดระเบิด (Ignition source) ที่ยอมรับให้ใช้งานตามโซนต่างๆ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากมาตรฐาน IEC 60079-0 และ IEC 60079-14
Equipment Protection Levels (EPLs) where only zones are assigned
โซน (Zone) |
Equipment Protection Level (EPLs) |
0 |
Ga |
1 |
Ga or Gb |
2 |
Gb, Gb or Gc |
20 |
Da |
21 |
Da or Db |
22 |
Da, Db or Dc |
การจำแนกบริเวณอันตรายโดยอ้างอิงมาตรฐานที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา
ในการจำแนกบริเวณอันตราย (Hazardous Locations) จะแบ่งพื้นที่ออกเป็นประเภทและแบบที่ (Class/ Division) ตามมาตรฐานทางไฟฟ้า NFPA 70 – National Electrical Code (NEC Article 500), API RP 500, และ NFPA หมายเลขอื่นๆ เช่น NFPA 497, NFPA 499 เป็นต้น ซึ่งใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกาและพื้นที่อื่นที่อ้างอิงการออกแบบตามมาตรฐานนี้ โดยจำแนกคร่าวๆ ได้ดังนี้
ประเภท (Class) |
แบบที่ (Division) |
ตัวอย่างพื้นที่ (Sample Areas) |
Class I ก๊าซ, ไอ หรือของเหลวระเหยเป็นไอ |
Division 1: บริเวณที่มีสารไวไฟ (ก๊าซ, ไอ) เกิดขึ้นต่อเนื่อง หรือบ่อยครั้งในสภาวะการทำงานปกติ หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้งจากการซ่อมบำรุงหรือรั่วไหลบ่อยครั้ง |
Petrol filling stations, Gasoline storage tanks, Locations containing open tank or vat of volatile flammable liquid, Paint spray booths, Gas manufacturing plants, Inadequately ventilated pump-rooms for flammable liquid |
Division 2: บริเวณที่มีสารไวไฟ (ก๊าซ, ไอ) จัดเก็บ ใช้ หรืออยู่ในกระบวนการ ซึ่งสารไวไฟเหล่านั้นปกติจะอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทหรือในระบบปิด โดยอาจจะมีการรั่วไหลออกมาในสภาวะผิดปกติ ภาชนะแตกชำรุด ผุกร่อน เป็นต้น บริเวณอันตรายใกล้กับ Class I Div. 1 ซึ่งอาจจะเกิดการระเหยหรือการไหลของอากาศพาสารไวไฟมายังพื้นที่ซึ่งติดกันนั้นได้ |
||
Class II ฝุ่น ที่ลุกไหม้ไฟได้ |
Division 1: บริเวณที่มีสารไวไฟ (ฝุ่น) ฟุ้งกระจายในอากาศในปริมาณเพียงพอที่สามารถจุดติดไฟหรือเกิดการระเบิดได้ ในสภาวะการทำงานปกติ หรือในสภาวะที่อุปกรณ์และเครื่องจักรทำงานบกพร่องจะมีสารไวไฟเกิดขึ้น ซึ่งเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั้นสามารถเป็น Ignition sources ได้ |
Processing plant of starch, sugar, pollen, flour, grain potato, rice, powdered milk, Grain handling process, Sawmills, Woodworking areas, Chemical dust processes, Pharmaceuticals, Pesticides, Metal dusts processes |
Division 2: บริเวณที่มีสารไวไฟ (ฝุ่น) ฟุ้งกระจายในอากาศในปริมาณเพียงพอที่สามารถจุดติดไฟหรือเกิดการระเบิดได้ ในสภาวะการทำงานผิดปกติ หรือฝุ่นสะสมที่อุปกรณ์ไฟฟ้า ส่งผลในเกิดการสะสมความร้อนของอุปกรณ์จนทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้เมื่ออุปกรณ์ทำงานบกพร่อง |
||
Class III เส้นใย สิ่งปลิวลอยในอากาศ |
Division 1: บริเวณที่มีสารไวไฟ (เส้นใย) ถูกนำมาใช้งานหรืออยู่ในกระบวนการผลิต |
Processing plants of rayon, cotton, and other textile mills, cotton gins, jute, hemp, cocoa fiber |
Division 2: บริเวณที่มีสารไวไฟ (เส้นใย) ถูกจัดเก็บไว้ หรือถูกใช้งานที่นอกเหนือจากในกระบวนการผลิต |
การแบ่งกลุ่ม (Groups) ของสารไวไฟตาม NFPA 70 (NEC 500) และ NFPA 497 สำหรับบริเวณอันตรายประเภทก๊าซ หรือไอ (Class I) จะพิจารณาจากคุณสมบัติของแรงระเบิดที่เกิดขึ้น ระยะห่างหน้าสัมผัสที่ปลอดภัยที่สามารถป้องกันประกายไฟจากการระเบิด (MESG) และพลังงานในการจุดติดไฟที่ได้จากการทดสอบ โดยจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
Gas Group |
MESG limits |
MIC ratios |
Typical Gas in a Group |
A |
– |
– |
Acetylene |
B |
MESG ≤ 0.45 mm |
MIC ≤ 0.40 |
Hydrogen |
C |
0.45 mm < MESG ≤ 0.75 mm |
0.4 < MIC ≤ 0.80 |
Ethylene |
D |
0.75 mm < MESG |
0.8 < MIC |
Propane |
ก๊าซหรือไอใน Group A จะมีระดับอันตรายที่สูงกว่า (ใช้พลังงานในการจุดติดไฟต่ำกว่า และมีแรงดันจากการระเบิดสูงกว่า) สารไวไฟใน Group B, C และ D ตามลำดับ
การแบ่งกลุ่ม (Groups) ของสารไวไฟตาม NFPA 70 (NEC 500) และ NFPA 499 สำหรับบริเวณอันตรายประเภทฝุ่น (Class II) จะแบ่งตามประเภทของฝุ่น ดังนี้
Dust Group |
Types of Dust |
Sample of Dust & Fiber |
E |
Combustible metal dust |
Aluminum, Magnesium, and their commercial alloys |
F |
Combustible carbonaceous dust |
Coal, Carbon black, Charcoal, Coke dust |
G |
Combustible dust not included in Group E and F |
Flour, Grain, Wood, Plastic, Chemical dust |
สำหรับบริเวณอันตรายประเภทเส้นใยและสิ่งปลิวลอยในอากาศ (Class III) นั้น ตาม NEC ไม่มีการแบ่งกลุ่ม
ในส่วนของพิกัดอุณหภูมิ (Temperature Classification) สำหรับอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้งานภายใน Class I จะมีการระบุ T-Code ตามตาราง NEC, Table 500.8 (C) โดยพิกัดอุณหภูมิของอุปกรณ์จะต้องไม่เกิน Autoignition Temperature ของก๊าซ หรือไอที่จะนำอุปกรณ์ไปใช้งาน หากเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้งานภายใน Class II พิกัดอุณหภูมิของอุปกรณ์จะต้องไม่เกิน Ignition Temperature ของฝุ่นที่จะนำอุปกรณ์ไปใช้งานเช่นกัน
การจำแนกบริเวณอันตรายตาม NFPA 70 (NEC) Article 505 และ 506 นั้น จะจำแนกเป็นโซน Zone 0, 1, 2 และ Zone 20, 21, 22 คล้ายคลึงกับการจำแนกตามมาตรฐานนานาชาติ IEC 60079-10-1 และ 60079-10-2 ตามลำดับ
ตัวอย่างแบบ Drawing การจำแนกบริเวณอันตรายเป็น Class และ Division อ้างอิง NFPA 70 (NEC)
การจำแนกบริเวณอันตรายจำเป็นต้องจัดทำเป็นเอกสารการออกแบบ (Documentation) เพื่อใช้ในการอ้างอิงภายหลัง ซึ่งควรประกอบด้วยข้อมูลที่ใช้พิจารณาในการออกแบบจำแนกบริเวณอันตราย ทั้งในส่วนของสารไวไฟและกระบวนการที่ก่อให้เกิดสารไวไฟในตำแหน่งต่างๆ มาตรฐานหรือแนวทางที่ใช้อ้างอิงในการออกแบบ การคำนวณต่างๆ (ถ้ามี) และแบบ Drawings ที่แสดงการจำแนกบริเวณอันตรายโดยพิจาณามุมมองทั้ง 3 มิติ (Top and side views) การจำแนกบริเวณอันตรายควรที่จะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ มีการใช้หรือจัดเก็บสารไวไฟที่แตกต่างจากเดิม หรืออาจจะส่งผลให้มีจุดที่เกิดการรั่วไหล (Source of release) ของสารไวไฟเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อีกทั้งควรที่จะมีการทบทวนการจำแนกบริเวณอันตรายเป็นระยะตลอดอายุการทำงานของโรงงาน หากมีการเปลี่ยนแปลงจากที่ออกแบบไว้
JTEx ให้บริการออกแบบ ให้คำแนะนำ และ/หรือปรับปรุงการจำแนกบริเวณอันตราย หากท่านสนใจในบริการสามารถส่งข้อมูลและติดต่อกับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินในการให้บริการได้
ติดต่อ: contact@jtexengineering.com
อ้างอิง: IEC 60079-10-1, IEC 60079-10-2, ISO/IEC 80079-20, NFPA 70 (NEC) Article 500/ 505/ 506